shufuchan

あけおめ ことよろ !

สวัสดีปีใหม่ 2022㊗️🎉

ปีนี้ก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ

明けましておめでとうございます。今年もよろしくお願いします。

 akemashite omedetougozaimasu. kotoshi mo yoroshiku onegaishimasu


วันที่ 1 มกราคม ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่

ในภาษาญี่ปุ่นเรียกวันนี้ว่า “元旦 (がんたん gantan)”

ช่วงนี้ทุกคนคงกำลังยุ่งกับการส่งข้อความอวยพรกันใช่ไหมคะ

สำหรับใครที่ยังไม่ได้ส่งคำอวยพรเป็นภาษาญี่ปุ่น

หรือกำลังอยากได้คำอวยพรเป็นภาษาญี่ปุ่น

ชุฟุจังมี 5 ประโยคคำอวยพรปีใหม่มาฝาก

ชอบประโยคไหน ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ


ข้อความแบบที่ 1
เป็นแพทเทิร์นง่ายๆ ใช้พูดได้กับทุกคน


ข้อความอวยพรปีใหม่ แบบที่ 2
ใช้กับเพื่อน หรือคนสนิท
あけおめ (พูดกับเพื่อน คนสนิท)

= 明けましておめでとうございます
宜しくね (พูดกับเพื่อน คนสนิท)

= 宜しくお願いします


ข้อความอวยพรปีใหม่ แบบที่ 3
ใช้ทั่วไปกับคนไม่สนิท ผู้ใหญ่ เจ้านายหรือผู้มีพระคุณ


ข้อความอวยพรปีใหม่ แบบที่ 4
ใช้ทั่วไปกับคนไม่สนิท ผู้ใหญ่ เจ้านายหรือผู้มีพระคุณ


ข้อความอวยพรปีใหม่ แบบที่ 5
ใช้ทั่วไปกับคนไม่สนิท ผู้ใหญ่ เจ้านายหรือผู้มีพระคุณ

ขอให้ทุกคนมีความสุขและคิดสิ่งใดก็ขอให้สมปรารถนาในปีใหม่นี้นะคะ


ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับวิถีคนญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นนอกตำรา เลี้ยงลูกญี่ปุ่น ได้ที่เว็ปไซต์นี้

★เกี่ยวกับคอร์สออนไลน์ภาษาญี่ปุ่น คอร์สสอนเทคนิคเลี้ยงลูกสไตล์ญี่ปุ่น 

言語学習について 日本語を学ぶタイ人 オンライン講座

https://lit.link/shufuchan

เรียบเรียง โดย ชุฟุจัง

“หากคุณอยากพูดภาษาญี่ปุ่นได้คล่อง

อย่าเพิ่งโฟกัสที่การพูดเรียงประโยคสวยๆ หรือพูดยาวๆๆๆ

ด่านแรกหันกลับมาโฟกัสที่การทำความเข้าใจจุดนี้ก่อน

 

Mini Course 3Days

สำนวนพูดสั้น ใช้งานได้จริง ไม่อิงไวยากรณ์

คอร์สภาษาญี่ปุ่นนอกตำราที่รวบรวม 15 คำพูดเพื่อโต้ตอบสนทนาพื้นฐานที่ควรรู้

เป็นคำพูดที่คนญี่ปุ่นใช้บ่อยในบทสนทนา

สามารถนำไปใช้สนทนาได้เป็นธรรมชาติโดนใจคนญี่ปุ่น


คอร์สนี้เหมาะสำหรับใคร?

🙎ผู้เรียนที่มีพื้นฐานอ่านตัวอักษรญี่ปุ่นและเข้าใจพื้นฐานไวยากรณ์ประมาณ N5 ได้

   คันจิอ่านไม่ได้ไม่เป็นไร คำอ่านฟุริกะนะให้

👩 คุณแม่บ้านหรือคนไทยในญี่ปุ่นที่จำเป็นต้องใช้ภาษาสนทนาในชีวิตประจำวัน

เพิ่งมาอยู่ญี่ปุ่นหรืออยู่นานแล้วไม่เคยเรียนจริงจัง

👩‍🎓ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นอยากพัฒนารื้อฟื้นภาษาที่ใช้โต้ตอบกับคนญี่ปุ่น

และคนที่ต้องการเรียนรู้เนื้อหาที่จะนำไปสื่อสารพื้นฐานให้เป็นธรรมชาติ

⭐เรียนจบคอร์สนี้แล้ว คุณจะเข้าใจความสำคัญของสนทนาอย่างไรให้ราบรื่น

และวิธีการใช้คำพูดสำหรับโต้ตอบในบทสนทนา

มากไปกว่านั้น จะยิ่งเข้าใจวัฒนธรรมและความคิดคนญี่ปุ่นที่ชุฟุจังเล่าสอดแทรกเรื่องราวจากชีวิตจริงที่ญี่ปุ่นในคอร์สอีกด้วย


✅ เนื้อหาตัวอย่างบทสนทนาในคอร์สเป็นเนื้อหาที่ไม่มีในตำรา ร่วมออกแบบกับคนญี่ปุ่น

✅เรียนรู้บทสนทนาพร้อมอธิบายไวยากรณ์นอกตำรา

✅เนื้อหาบทเรียนเพียง 3 วัน นำไปใช้ได้จริงทันที

✅เรียนผ่านวิดิโอจัดตารางเวลาเรียนตามไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้

✅สมัครแล้วเริ่มเรียนได้ทันที

✅สมัครแล้วดูซ้ำได้ตลอด ไม่มีลบคอร์ส

✅มีเอกสารประกอบการเรียนเป็นไฟล์ pdf

สอนโดย ชุฟุจัง
เจ้าของเพจแม่บ้านญี่ปุ่นสไตล์ชุฟุจัง
โค้ชงัดศักยภาพกล้าพูดญี่ปุ่น
ผู้ออกแบบคอร์สเรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่องัดศักยภาพกล้าพูดและพัฒนาทักษะพูดคล่อง
อาศัยอยู่ญี่ปุ่น 10 ปี และ มีประสบการณ์สอนออนไลน์กว่า 4 ปี ผ่าน FB Live และ Zoom

ตัวอย่างคอร์สภาษาญี่ปุ่นออนไลน์

บทเรียน DAY 1 DAY 2 DAY3
คำนี้เจอบ่อยมากถึงมากที่สุด แต่ทุกคนรู้ไหมว่า มันสามารถนำมาใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์

どういう意味ですか douiuimi desuka แปลว่า “หมายความว่ายังไง” ใช้ได้มากกว่า 1 กรณี คำนี้ใช้บ่อยมากกกกในบทสนทนากับคนสนิท และ คนที่ไม่สนิท

 


>>>> ราคาคอร์สนี้ 990 บาท 【3300เยน】 <<<<<

สนใจสมัคร

พิมพ์คำว่า “mini  course” มาที่ LINE Official Account


หากคุณมีเป้าหมายสื่อสารได้คล่องโดนใจคนญี่ปุ่น

คุณจำเป็นต้องเรียนรู้พื้นฐานเหล่านี้

ถ้าคุณสามารถใช้คำพูดเหล่านี้ได้จะทำให้สื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้เป็นธรรมชาติ

และ คนญี่ปุ่นจะรู้สึกดีประทับใจที่ได้คุยกับคุณ

โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องพูดอะไรยาวเยอะอะไรเลย

ฝึกใช้คำพูดสำหรับโต้ตอบในบทสนทนาให้คล่อง

เพื่อจะได้คุยได้สนุกราบรื่น และสร้างความสนิทสนม

ส่งผลให้เกิดความประทับใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับอีกฝ่ายได้

 

คอร์สสอนเทคนิคเลี้ยงลูกสไตล์ญี่ปุ่น

คอร์สออนไลน์สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกญี่ปุ่น

(ลูกเล็กวัย 0-6 ขวบ)

คุณแม่มือใหม่เลี้ยงลูกให้สนุกและมีความสุขในญี่ปุ่นได้

เพียงแค่รู้เทคนิคและเข้าใจการเลี้ยงลูกในแบบฉบับญี่ปุ่น

 

คอร์สนี้คุณแม่จะได้เรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงลูกในชีวิตประจำวันที่นำไปปรับใช้ได้ทันที

เรียนรู้จากผู้ที่รู้จริงและมีประสบการณ์การเลี้ยงเด็กโดยตรง

ประหยัดเวลา เพิ่มความมั่นใจในการเลี้ยงลูกได้อย่างมีแนวทาง

 

ช่วยให้คุณแม่มีความรู้ความเข้าใจ คลายข้อสงสัยและลดความกังวลในการเลี้ยงลูกที่ญี่ปุ่นสามารถเลี้ยงลูกในญี่ปุ่นได้อย่างมีความสนุกและสุขใจมากขึ้น

 

สอนโดย คุณ Maki Hoda ครูเนอสเซอรี่ญี่ปุ่น

มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กเล็กมากกว่า 10 ปี

ผ่านการเรียนรู้อบรมเกี่ยวกับการดูแลเด็ก และเป็นครูสอนเปียโนให้เด็กๆ ด้วย

5 คลิปวิดิโอ เนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิควิธีเลี้ยงลูก จัดการดูแลลูกในแต่ละด้าน

เช่น เทคนิคการพูดชมลูก  อาหารการกิน โรคที่ควรระวังในแต่ละช่วงฤดู
การจัดสมดุลกิจกรรมที่เกี่ยวกับลูกในชีวิตประจำวัน วิธีการเล่นกับลูก

ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้พูดกับลูก ภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นในการสื่อสารกับครูที่โรงเรียน

ภาษาญี่ปุ่นง่ายๆ ใช้อธิบายอาการไม่สบายของลูกเวลาไปพบแพทย์ ฯลฯ

 

ในคลาสเรียนออกแบบให้คุณแม่ได้จัดเวลาเรียนตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง

คอร์สเรียนรูปแบบวิดิโอออนไลน์ อยู่ที่ไหนเมื่อไหร่ก็เรียนได้

✅จัดเวลาเรียนได้ตามไลฟ์สไตล์ของคุณแม่

✅เซนเซพูดญี่ปุ่น มีล่ามแปลภาษาไทย

                  ได้ความรู้และได้ฝึกภาษาญี่ปุ่นไปในตัวด้วย

✅ซื้อครั้งเดียวดูได้ตลอด ไม่มีระยะเวลากำหนด

✅มีเอกสารประกอบการเรียนทั้งภาษาไทย-ญี่ปุ่น


SPECIAL  BONUS ฟรี !!  2 คลิปสำหรับคุณแม่เลี้ยงลูกครึ่ง

①คลิปวิดิโอสัมมนาเคล็ดลับเลี้ยงลูกสองภาษาอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

สอนโดย คุณแม่ชาวญี่ปุ่นที่สอนภาษาอังกฤษให้ลูกพูดได้แบบ Native Speaker

(ในคลิปใช้ภาษาญี่ปุ่น มีล่ามแปลไทย)

②คลิปความรู้เกี่ยวกับโรคระบาดของเด็กในช่วงฤดูร้อน

และภาษาญี่ปุ่นบอกอาการเวลาไปหาหมอ 

 

ทั้งหมดรวม  7  คลิป

 


ตัวอย่างสไลด์บทเรียน

คำพูดชมลูก
บทเรียนเกี่ยวกับการพูดชมลูก น้ำเสียงในการพูด มีผลต่อความรู้สึกลูก
บทเรียนเกี่ยวกับอาหารการกินของเด็กแต่ละวัย ทำอย่างไรให้ลูกอยากทานอาหาร
เรียนรู้เรื่องโรคระบาดในช่วงฤดูร้อน

คอร์สสอนเทคนิคเลี้ยงลูกสไตล์ญี่ปุ่น

ราคาปกติ 9900 เยน (2950 บาท)

แจ้ง CODE “happy mom” เพื่อรับส่วนลด 55%

เหลือเพียง 5500 เยน (1650 บาท)

สมัครได้ที่  Line Official  Account

ซื้อครั้งเดียว สามารถดูทบทวนได้ตลอด ไม่มีลบคลิป !!

สมัครเข้าเรียนแล้วสามารถดูคลิปได้ตามเวลาที่คุณแม่สะดวกในกลุ่มเรียนเฟสบุ๊คลับ


แนะนำผู้สอน

คุณ Maki Hoda ครูเนอสเซอรี่ญี่ปุ่น (保育士)
ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ในการเป็นครูเนอสเซอรี่ญี่ปุ่น


Supported by Splash Wings Community

สังคมแม่บ้านสร้างชีวิตสุขอิสระในต่างแดน

สำหรับแม่บ้านที่แต่งงานอาศัยในญี่ปุ่นหรือคุณแม่เลี้ยงลูกที่ญี่ปุ่น

เข้าร่วมกลุ่มฟรี ที่นี่

สัมภาษณ์คุณแม่ไทย Vol.5

แชร์เคล็ดลับเลี้ยงลูกสองภาษา

สอนลูกไทยให้พูดญี่ปุ่นได้


ชุฟุจัง :  ก่อนอื่นต้องขอบคุณที่ตอบรับการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้นะคะ เชื่อว่าความรู้และเทคนิคการสอนภาษาญี่ปุ่นให้ลูกในบทสัมภาษณ์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างมาก อ่านแล้วจะได้แนวทางการสอนภาษาญี่ปุ่นให้ลูก หรือได้เทคนิคการเริ่มต้นเรียนภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้ที่สนใจภาษาญี่ปุ่น 

ว่าแล้วเราก็ไปทำความรู้จักกับคุณแม่ผู้ให้สัมภาษณ์ในวันนี้กันเลยค่ะ รบกวนแนะนำตัวให้คุณแม่และผู้อ่านรู้จักหน่อยค่ะ

คุณแม่ลี่ :  ชื่อลี่ค่ะ อยู่กรุงเทพค่ะ   ส่วนลูกสาว ชื่อ น้องอลิ (อาลิตัน เป็นชื่อเล่นในเพจค่ะ) 6 ขวบใกล้ 7 ขวบค่ะ  มีความสามารถฟังพูดอ่านเขียนภาษาญี่ปุ่น ถนัดการอ่านมากที่สุด เพราะเป็นนักแปลค่ะ ภาษาอังกฤษอ่านออกเขียนได้ แต่ไม่ได้ใช้ทำงานค่ะ   งานอดิเรก คือ การวาดภาพ อ่านหนังสือ ทำเสื้อผ้า

 

ชุฟุจัง : อยากทราบจุดเริ่มต้นในการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับน้องอาลิตัน ตอนนั้นคุณแม่มีแรงจูงใจหรือคิดอะไรคะ

คุณแม่ลี่ : ช่วงที่น้องเกิด (2014) มีกระแสที่เด่นๆในหมู่การเลี้ยงลูกคือ สอนลูกพูดภาษาที่สองโดยพ่อแม่ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา (หลักๆหมายถึงภาษาอังกฤษ) ตอนนั้นเป็นแนวคิดใหม่ ซึ่งเข้าทางเราเลยเพราะอยากทำอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีกระแสการสอนด้วยคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ก็อาจจะไม่ได้มั่นใจที่จะทำมาจนถึงตอนนี้ค่ะ

 

ชุฟุจัง : แล้วปกติในครอบครัวใช้ภาษาอะไรในการสื่อสารพูดคุยกันคะ

คุณแม่ลี่ : ที่บ้านเป็นคนไทยธรรมดาๆ เลยค่ะ แต่แม่พูดญี่ปุ่นได้ ส่วนพ่อไม่ได้เลย เพราะตัวเองเคยไปเรียนที่ญี่ปุ่น พอกลับมาก็ทำงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาญี่ปุ่นมาเรื่อยๆ  และปกติน้องจะอยู่กับแม่คนเดียวเกือบทั้งวัน  

ถ้ากรณีเด็กเป็นลูกครึ่งสองชาติที่มีเจ้าของภาษาสอนเองจะเป็นการซึมซับอยู่แล้ว แต่ถ้าสอนโดยที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา

ปัญหาแรกคือ ความไม่มั่นใจ (คนรอบข้างก็แคลงใจ) ว่าจะได้เหรอ ตัวเองก็ไม่ใช่เนทีฟนะ แต่แนวคิดเรื่องการเลี้ยงลูกสองภาษาตอนนั้นเป็นกระแสมาแรง เราก็เลยคิดว่าจะลองสอนภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่เกิดเลย เพราะตัวเองกว่าจะได้เรียน คือโตแล้วเพราะตลาดการสอนภาษาญี่ปุ่นไม่กว้าง ถ้าเราทำได้ก็น่าจะดี 

ส่วนภาษาอังกฤษคิดว่าที่ไหนก็มีสอนตั้งแต่เด็กเล็กเด็กโตไปจนถึงผู้ใหญ่ จึงลงมือสอนภาษาญี่ปุ่นให้ลูกโดยไม่ได้สอนภาษาไทยด้วยซ้ำค่ะ (เช่น ศัพท์เบสิกต่างๆจะไม่ได้เน้นภาษาไทยเลย เพราะเดี๋ยวเค้าก็รู้เองแน่ๆ) จึงพยายามหาข้อมูล และแนวร่วมคุณแม่ที่สอนภาษาญี่ปุ่นให้ลูกแบบเรา ก็พอมีบ้างแต่น้อยมากค่ะ 

 

หลังจากนั้นเลยตั้ง facebook page ありたん日本語 อาลิตัน-สอนภาษาญี่ปุ่นให้ลูก จริงๆตั้งใจจะให้คนเข้ามาแชร์วิธีสอนกัน มาช่วยกันเขียนโพสต์ ซึ่งควรตั้งเป็น Group แต่เราตั้งผิดเป็น Fan page เลยกลายเป็นเราเขียนคอนเท็นต์อยู่คนเดียวค่ะ (ฮา) ก็เลยโพสต์พวกคำศัพท์และพัฒนาการของน้องในเพจค่ะ แล้วก็พอดีพบว่า มีคลาสเรียนสำหรับเด็กเล็กตั้งแต่ 6 เดือนที่ครูสอนเป็นชาวญี่ปุ่น ก็เลยพาน้องไปเรียน เด็กที่ไปเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กลูกครึ่งญี่ปุ่น หรือไม่ก็เด็กญี่ปุ่นเลย ส่วนเด็กไทยแท้ๆ นอกจากน้องอาลิตันก็พอมีบ้างค่ะ จะเรียนเป็นเพลย์กรุ๊ป การพาไปเรียนเพื่อให้เค้าได้เจอคนญี่ปุ่นบ้างค่ะ

ชุฟุจัง : คุณแม่ลี่สุดยอดมาก ตัดสินใจสอนลูกตั้งแต่เกิดจนน้องอาลิตันพูดญี่ปุ่นได้และสามารถเปิดเพจแบ่งปันความรู้ต่อให้กับคนอื่นที่สนใจด้วย ทีนี้คิดว่าหลายคนคงอยากรู้แล้วค่ะว่า คุณแม่มีเทคนิควิธีการสอนน้องอย่างไรในแต่ละช่วงวัย 

คุณแม่ลี่ : เริ่มจากพูดกับน้องเป็นภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่วัย 4 เดือน  เด็กเล็กไม่ต้องการคำพูดยาวๆ พูดแค่คำว่า “วันนี้อากาศดีนะ(きょう、てんきがいいね)”  “กินนมยัง(ぎゅうにゅうをのんだ?)” “ตื่นแล้วเหรอ(もうおきたの?)”  พูดทุกอย่างที่เราพูดได้ค่ะ  แล้วก็เปิดหนังสือภาพชี้บอกศัพท์ไปเรื่อยๆ คำไหนเราไม่รู้ก็ค้นหาก่อน จนน้องอายุประมาณ 8 เดือน  ตอนนั้นเด็กมีการแสดงการตอบสนองต่อคำที่เค้าได้ยินบ่อยๆ เหมือนเด็กทั่วไปค่ะ เช่น ถามเค้าว่าอะไรอยู่ไหน リモコンどこ?(รีโมทอยู่ไหน) 絵本はどこ?(หนังสือนิทานอยู่ไหน) เค้าก็หันไปมองสิ่งนั้นได้ถูกต้อง เราก็รู้สึกว่า เอาละ ได้ละ ต่อมาก็เพิ่มให้เค้าได้เรียนรู้ศัพท์มากขึ้นเรื่อยๆค่ะ เช่น สี สัตว์ สิ่งของ ยกมือขึ้น เหมือนปกติค่ะ บอกให้ทำอะไรก็จะพูด เช่น ขอดูหน่อย เค้าก็เข้าใจค่ะ 

น้องอาลิตัน 9 เดือน กับหนังสือนิทานเด็กญี่ปุ่น

แต่กว่าจะพูดออกมาเองก็ประมาณ 2 ขวบค่ะ จะให้พูดตาม พูดทวนที่แม่พูดก่อน จากนั้นเค้าเห็นภาพแล้วจะพูดเองได้ค่ะ เช่น คำว่า “ริงโงะ” คำนี้แม่จะไม่แปลความหมายให้ฟัง คือภาษาญี่ปุ่นเรียกยังไงก็อย่างงั้น ไม่ต้องแปล เพราะตำราแนะนำมาว่า สอนแนวนี้ก็ไม่ต้องแปลค่ะ

ตอนแรกคิดว่าจะไม่สอนอ่านเขียนเลยค่ะ เพราะนึกไม่ออกว่าจะสอนยังไงดี กับมีความคิดที่ว่า เราไม่ใช่คนญี่ปุ่น เอาแค่พูดฟังได้ก็พอ แต่พอประมาณ 3 ขวบ เค้าเล่นกระดานกดที่มีเสียงตัวหนังสือจนจำได้เองค่ะ แต่แม่ไม่ได้เน้น ตอนนี้เลยพึ่งมาเรียนย้ำใหม่ เพราะถ้าเค้าอ่านได้ก็ดีกว่า ต่อไปจะได้เรียนรู้เพิ่มเองได้ด้วย

สื่อที่ใช้ในการสอนมีเยอะมาก สื่อที่ใช้ตอนช่วงที่น้องเริ่มรู้เรื่อง คือ ชิมะจิโร่  เป็นสื่อการเรียนที่ไม่ใช่สื่อสอนภาษาแต่ช่วยให้เราสามารถช่วยเรื่องพัฒนาการตามวัยของลูก “ด้วยภาษาญี่ปุ่น” ได้ค่ะ เช่น การเข้าห้องน้ำ การแปรงฟัน

 

ปกติคุณแม่จะต้องสอนน้องอยู่แล้วไม่ว่าจะใช้ภาษาอะไร พอเรามีสื่อตัวนี้ช่วยให้ง่ายขึ้นค่ะ เหมือนมีตัวอย่างการพูดการรับมือ (対応(taiou)) เรื่องต่างๆ เป็นภาษาญี่ปุ่นได้ ซึ่งสามารถจำก๊อปปี้ไปใช้ได้เลย

สมัยนี้สื่อญี่ปุ่นเยอะมาก ที่บ้านดูรายการญี่ปุ่นผ่านเว็บค่ะ ตอนเด็กเปิดการ์ตูน ちびまる子 กับ おかあさんといっしょ น้องดูเข้าใจค่ะ เพราะหูเค้าชินกับภาษาสามารถฟังสำเนียงญี่ปุ่นแท้ออกแล้ว

พอเริ่มรู้เรื่องก็ดูพวกโดราเอม่อน ชินจัง ดูยูทูปช่องเด็กญี่ปุ่นพวกรีวิวของเล่น ตอนเล็กๆ จะดูช่อง Kan&Aki ตลอดเลยค่ะ เดี๋ยวนี้โตแล้วเปลี่ยนมาดูช่อง Hikakin, Seikin ค่ะ

เค้าจะได้ศัพท์ใหม่ๆ เอง ตอนนี้ก็เลยทำคลิปยูทูป (อาลิตัน นิฮงโกะ) โดยที่ให้น้องมาแจมตอนช่วงท้ายที่เป็นของเค้าโดยเฉพาะ เนื้อเรื่องจะเห็นว่าบางทีก็ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในตอน (ฮา) เพราะบางตอนเค้าคิดเองค่ะ ว่าจะทำแบบนี้ เรื่องเป็นแบบนี้ แม่ก็มาตบให้เข้าที่ ก็ตามใจเค้าด้วยค่ะ เพื่อให้ได้ออกมาแต่ละคลิป ก็น่าจะถือเป็นการฝึกในช่วงวัยนี้ของเค้า  

ชุฟุจัง : ทุกอย่างต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างต่อเนื่องเนอะคะ นับถือความมุ่งมั่นของคุณแม่ในการสอนภาษาญี่ปุ่นให้ลูกมากๆ เลยค่ะ แล้วมีเหตุการณ์ไหนที่เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงว่าลูกเริ่มคิดพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นแล้วคะ

คุณแม่ลี่ : ที่จริงน้องพูดญี่ปุ่นแบบธรรมชาติมากๆ คือ ช่วงก่อนเข้า รร ค่ะ เพราะอยู่กับแม่มาก เวลาเล่นเคยเห็นบ่อยๆ เค้าพูดแบบพากษ์เสียงตุ๊กตาอยู่ตามลำพัง ประมาณว่า 恐竜がきた、逃げよう。魔法の水かけて、、คำมาจากพวกการ์ตูนซึ่งตรงนี้ที่เห็นว่า เป้าหมายสำเร็จแล้วคือ เค้ามีพื้นมากพอที่จะสามารถไปเรียน ไปจำด้วยตัวเองได้ จำได้ว่าพูดยาวที่สุดครั้งแรกตอน 3 ขวบกว่า เค้าหยิบขนม surprise egg มาแล้วพูดว่า 中はなにが入っているか知りたい。แม่แบบ หืม โอเค 55 

ไม่แน่ใจเท่าไรว่า อะไรทำให้เค้าคิดว่า ตรงนี้จะพูดไทย ตรงนี้จะพูดญี่ปุ่น มีครั้งหนึ่งโตแล้วเป็นช่วงที่พูดไทยเยอะ อยู่ๆตอนเค้าโมโหแม่ ก็พูดโวยเป็นญี่ปุ่นออกมา ままつまらない。ぱぱもつまらない。きいてることもわからない!

คือเด็กเมื่อโตแล้ว แม่คิดว่าเค้าจะพูดเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องพูดมากกว่า เช่น เจอคนญี่ปุ่น หรือกำลังเรียนญี่ปุ่นกับแม่ จะไม่ได้พูดตลอดนะคะ อันนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมักกังวลเวลาที่ส่งลูกไปนานาชาติกลับมาบ้าน ทำไมลูกก็พูดไทยอยู่ดี แต่ว่านั่นเพราะเค้าแยกแยะสถานการณ์ได้มากกว่าค่ะ 

ส่วนที่บอกว่าไม่เคยสอนไปแปลไป พอน้องโตประมาณ 5 ขวบ แม่ชอบถามเค้าว่าอันนี้มันแปลว่าอะไรรึ เค้าก็บอกเป็นภาษาไทย ซึ่งแม่ดีใจว่า เออ เค้าเอาคอนเซ็ปของสองภาษามาเชื่อมโยงกันได้เอง

ชุฟุจัง : อุปสรรคในแต่ละช่วงวัยในเรื่องพัฒนาการภาษาญี่ปุ่น

คนที่ไม่เคยสอนภาษาที่สองให้เด็กจะคิดว่า ถ้าเป็นไปได้ควรเริ่มให้เร็วที่สุด เริ่มเร็วเท่าไรอุปสรรคยิ่งน้อย หรือไม่มีเลย  เพราะเด็กคือว่างเปล่า อย่างน้องอาลิตัน เค้าไม่รู้ด้วยซ้ำว่า คำว่า ริงโงะ กับคำว่า แอปเปิ้ล คือคนละภาษากัน ไม่เข้าใจคำว่า “ภาษาไทย” “ภาษาญี่ปุ่น” คืออะไร มันต่างกันยังไง จนเกือบ 4 ขวบน้องถึงเข้าใจค่ะ ว่าภาษามีการแบ่งแยก

สรุปคือสอนตอนเด็กเล็ก ยิ่งเล็กมากยิ่งดี แต่เด็กเล็กเหมาะกับการสอนแบบ Direct (พูดใส่ ไม่แปล)

แต่พอน้องโตขึ้นไป รร ไทย หรืออังกฤษ ภาษาญี่ปุ่นเค้าจะน้อยลง เพราะใช้เวลาที่ รร. มาก แม่ต้องใจแข็งพยายามพูดกับเค้า บอกเลยว่า มีช่วงหนึ่งก็พูดญี่ปุ่นกับเค้าน้อยลงมาก เพราะภาษไทยบดบัง และเราไม่ใช่เจ้าของภาษาจะพูดได้ไม่ตกหล่นเลยก็ยากมาก (เวลาเหนื่อย โกรธ หรือสอน เป็นต้น) อันนี้ขึ้นอยู่กับความหนักแน่นของแต่ละบ้านนะคะ ถ้าใครเริ่มตอนโต แนะนำว่า สอนแบบ Indirect (สอนโดยใช้ภาษาไทยช่วยอธิบาย) จะลดความเครียดให้เด็กได้มากกว่าค่ะ โตขึ้นเด็กอาจจะพูดน้อยลง แต่ความเข้าใจจะเพิ่มขึ้นแน่นอนค่ะ

 

ชุฟุจัง : คำถามนี้เห็นว่ามีคนถามมาบ่อยใช่ไหมคะ สำหรับพ่อแม่ไม่ได้ภาษาญี่ปุ่นเลยแต่อยากให้ลูกพูดภาษาญี่ปุ่นได้ หรือพ่อแม่ที่รู้ภาษาญี่ปุ่นอยู่แล้วแต่ยังไม่มั่นใจกลัวว่า จะสอนลูกได้ไม่ดี คุณแม่มีคำแนะนำอย่างไรบ้างคะ

คุณแม่ลี่ : คำถามนี้เคยได้ยินบ่อยมากค่ะ เอาจริงๆ ตอนแรกไม่รู้จะตอบยังไงเหมือนกัน สำหรับกรณีพ่อแม่ที่ไม่ได้ภาษาญี่ปุ่นเลย แต่อยากสอนลูก จำได้ว่ามีตอนที่เห็นลูกเรียนออนไลน์วิชาภาษาจีน แม่ฟังไปด้วยก็เหมือนได้เรียนไปด้วยเลยค่ะ ก็เลยปิ๊งคำตอบว่า ถ้าใครบอกว่าไม่มีความรู้ญี่ปุ่นแต่อยากสอนลูก แนะนำให้เปลี่ยนความคิด “เป็นเรียนไปด้วยกัน ช่วยกันเรียนแบบเพื่อนร่วมชั้นนะคะ” น่าจะได้ผลกว่าให้เด็กไปนั่งเรียนคนเดียว หมดชั่วโมงก็ไม่มีใครทวน ไม่รู้จะไปใช้กับใคร ชั่วโมงต่อไปค่อยว่ากันใหม่

ส่วนคนที่พูดได้แต่กลัวว่าจะสอนไม่ได้ สอนไม่เป๊ะ (แม่เคยเจอ คุณพ่อที่พูดได้เลย แต่ไม่สอนลูก บอกกลัวไม่เป๊ะ) จะบอกว่าภาษาที่สอนเด็กเป็นภาษาระดับง่ายๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ แม้แต่ภาษาไทยที่เด็กใช้ทุกวัน ระดับภาษาก็ยังเป็นระดับเบสิก ดังนั้นมั่นใจสอนได้ค่ะ ถ้าประโยคไหนเราไม่แน่ใจว่าใช้แสดงคำพูด (表現 hyougen) แบบไหนถึงจะถูก ก็ไปค้นหาดูก่อนค่อยพูดกับลูกก็ได้ค่ะ

พอพื้นฐานได้แล้วเดี๋ยวเค้าออกไปเก็บความรู้กลับมาเองค่ะ อย่างทุกวันนี้บางคำน้องฟังมาจากในยูทูป แม่ไม่รู้ด้วยซ้ำ ถามเค้ามันแปลว่าอะไร เค้าก็บอกเราเอง เช่นคำว่า しょぼい แม่ไม่เคยได้ยินถามว่า แปลว่าอะไรเนี่ย เค้าก็บอกว่า บ้านๆธรรมดาๆ ก็ขำดีค่ะ เท่านี้ถือว่าใช้ได้แล้วค่ะสำหรับแม่

 


จบแล้วค่ะสำหรับบทสัมภาษณ์คุณแม่น้องอาลิตัน

ทุกคนอ่านแล้วได้เรียนรู้อะไรบ้างคะ

หวังว่าคุณพ่อคุณแม่ที่สนใจสอนภาษาญี่ปุ่นให้ลูกได้อ่านบทสัมภาษณ์นี้แล้ว

จะได้แนวทางและปลุกความมั่นใจในการสอนภาษาหรือสนับสนุนให้ลูกพูดภาษาญี่ปุ่นได้   

ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถนำเทคนิควิธีการรวมถึงสื่อการเรียนต่างๆ ที่คุณแม่น้องอาลิตันแนะนำ

นำไปปรับใช้ให้เข้ากับแนวทางการเรียนการสอนของตัวเองและลูกได้ ดีมากๆ เลยค่ะ

ขอบคุณที่ติดตามอ่านแล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ                       

ติดตามความรู้ภาษาญี่ปุ่น และ การสอนภาษาญี่ปุ่นให้ลูกของคุณแม่น้องอาลิตันได้ที่

Youtube Channel : อาลิตัน นิฮงโกะ Alitan.Nihongo

Facebook Fanpage ありたん日本語 อาลิตัน-สอนภาษาญี่ปุ่นให้ลูก

 

ขอบคุณคุณแม่ลี่ ผู้ให้สัมภาษณ์

เรียบเรียงโดย ชุฟุจัง

 


★RECOMMEND★
คอร์สออนไลน์สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกเล็กในญี่ปุ่น
เรียนรู้วิธีการเลี้ยงลูกแบบฉบับคนญี่ปุ่นและภาษาญี่ปุ่นที่ใช้กับลูก,ใช้ตอนพาไปหาหมอ ฯลฯ
สอนโดย คุณ MAKI HODA ครูเนอสเซอรี่ญี่ปุ่น 
ดูรายละเอียดคอร์สได้ที่นี่
ในบทเรียนมีล่ามแปลภาษาไทย พร้อมเอกสารประกอบการเรียนภาษาไทยและญี่ปุ่น
รูปแบบวิดิโอออนไลน์ สะดวกเรียนเมื่อไหร่ที่ไหนก็ได้
เรียนได้ทั้งคุณพ่อญี่ปุ่นและคุณแม่ไทย 

 

สัมภาษณ์แม่บ้าน Vol.4

อยู่บ้านก็หารายได้เสริมได้จากงานไนโชะกุ (内職)


เมื่อมาเป็นแม่บ้านที่ญี่ปุ่นแล้วจะทำงานอะไรดี

อยากมีรายได้เป็นของตัวเองบ้าง จะหางานอย่างไรดี ทำอย่างไรถึงจะหางานทำได้

ชุฟุจังเชื่อว่าคุณแม่บ้านหลายคนคงคิดเหมือนกันเรื่องการหางานทำที่ญี่ปุ่นเพื่อเป็นการหารายได้เสริม อย่างน้อยก็เป็นเงินเก็บส่วนตัวหรือส่งกลับไปให้ครอบครัวที่ไทยได้ ดีกว่ารอเงินเดือนสามีเพียงอย่างเดียว

แต่…..ภาษาญี่ปุ่นก็ยังไม่เก่ง ระดับแค่เอาตัวรอดในชีวิตประจำวันก็ยังต้องฝึกอีกเยอะเลย

ยิ่งมีลูกด้วยแล้ว ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

อีกทั้งต้องเลี้ยงลูกทำให้การออกไปทำงานนอกบ้านก็ยิ่งเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก

แล้วจะมีวิธีไหนที่แม่บ้านอย่างเราจะสามารถหางานสร้างรายได้ที่ญี่ปุ่นได้บ้าง

หลายคนที่กำลังมองหางานเสริมที่ทำบ้านอยู่

มีงานหนึ่งที่คุณแม่บ้านสามารถมีรายได้และทำที่บ้านระหว่างเลี้ยงลูกได้

งานนี้ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “งานไนโชะกุ”

 

สำหรับบทความนี้เป็นการสัมภาษณ์คุณแม่บ้านไทยในญี่ปุ่นที่มีประสบการณ์ทำงานไนโชะกุ

หวังว่าจะเป็นข้อมูลอ้างอิงและช่วยเป็นทางเลือกหนึ่งในการหารายได้เสริมของคุณแม่บ้านที่สนใจนะคะ

ชุฟุจัง : สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่ตอบรับให้สัมภาษณ์และแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ให้กับพวกเรานะคะ   รบกวนแนะนำตัวให้เพื่อนๆ รู้จักหน่อยค่ะ

คุณเทียร์ :ชื่อเล่น เทียร์  มีลูกทั้งหมด 4 คน อายุ 9ขวบ , 6ขวบ ,4 ขวบ และ 1 ขวบค่ะ

อาศัยอยู่ที่นาโกย่า จังหวัด ไอจิ อาชีพก่อนมาเป็นแม่บ้านตอนอยู่ไทยเป็นล่ามฟรีแลนส์

แต่งงานที่ไทยแล้วย้ายมาอยู่ญี่ปุ่นประมาณ11-12ปีแล้วค่ะ งานอดิเรกก็เล่นเกมส์ ดูซีรี่ย์เกาหลี ค่ะ 555  

 

ชุฟุจัง : รบกวนช่วยเล่าจุดเริ่มต้นของการทำงานไนโชะกุให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ

เริ่มตอนไหน ตอนนั้นคิดอย่างไร เริ่มต้นมีอุปสรรคอะไรไหม และขั้นตอนในการสมัครมีอะไรบ้างคะ

คุณเทียร์ :จุดเริ่มต้นในการทำงานไนโชะกุ เริ่มจากตอนท้องลูกคนที่2 เลยตั้งใจจะเป็นแม่บ้าน ทำงานเบาๆอยู่บ้าน 555 แต่จริงๆ งานส่วนใหญ่ไม่เบานะคะ ต้องขอบอกก่อนว่า เราทำงานไนโชะกุมาหลายที่มากเลยค่ะ แต่ละที่ลักษณะงาน ค่าตอบแทนต่างกัน นะคะ

อีกเรื่องค่ะ งานไนโชะกุ เราทำเป็นงานเสริม ปกติเราเป็นล่ามตามโรงงาน

เริ่มแรกเลย หางานจากอินเตอร์เน็ตก่อน ลองพิมพ์คำว่า 内職募集(ないしょくぼしゅう) แล้วก็เขตที่ตัวเองอยู่ ตอนนั้นเทียร์อยู่ นาโกย่าเขตมินาโตะ ก็พิมพ์ลงไปว่า 内職募集 名古屋市 港区 มันก็จะมีเยอะแยะมากมาย ทั้งในเขตที่เราอยู่ และเขตอื่นๆที่ไกลออกไป

คุณสมบัติในการสมัครก็จะมีเขียนเอาไว้หมดเลยค่ะ ว่ารับอะไรบ้าง งานเป็นแบบไหน เราลองโทรเข้าไปสอบถามที่ใกล้ๆ บ้านก่อนว่าเราสนใจ อยากสมัครงานประเภทไนโชะกุ เค้าก็จะเรียกสัมภาษณ์ พอไปถึงบริษัทก็จะอธิบายลักษณะงานต่างๆ รวมไปถึงค่าแรงจะจ่ายแบบไหน บางที่เลือกได้ว่าจะจ่ายเดือนละครั้ง หรือว่า 15วันครั้ง จ่ายเข้าบัญชีเลย หรือแบบจ่ายเงินสด

บางทีก็เลือกไม่ได้ค่ะ บางที่มีอบรมก่อนด้วยนะคะ ถ้าเราโอเคจะสมัครก็เริ่มได้เลย หลักฐานการสมัครของทุกที่เหมือนกันค่ะ คือต้องมี มายด์นัมเบอร์ (マイナンバー) และ ต่างชาติก็ต้องมีไซริวการ์ด(在留カード) และสมุดบัญชีธนาคาร(口座通帳 こうざつうちょう) ด้วยค่ะ กรอกใบสมัครเสร็จก็เริ่มงานได้เลยค่ะ

ก่อนทำอย่าลืมอ่านสัญญาจ้างงานในละเอียดนะคะ ส่วนมากห้ามนำข้อมูลหรือชื่อบริษัทไปเปิดเผยค่ะ

ดังนั้นเราจะขอไม่บอกชื่อบริษัทนะคะ  อีกเรื่องควรมีรถยนต์ขับไปรับงานนะคะ เพราะส่วนใหญ่งานที่เทียร์รับมาทำเป็นงานกล่องใหญ่ทั้งนั้นเลย จักรยานคงไม่ไหว

 

ชุฟุจัง : เริ่มงานแล้วเป็นอย่างไรบ้างคะ ลักษณะงานเป็นอย่างไร และได้ค่าตอบแทนประมาณเท่าไหร่ต่อเดือนคะ

คุณเทียร์ :เริ่มที่บริษัทแรกนะคะ ในบริษัทจะมีงานหลายประเภทมาก ทั้งติดสติ๊กเกอร์ เช็คชิ้นงาน ใส่ตะเกียบในถุงเป็นเซ็ต เรียงปฎิทินใส่ถุง ประมาณนี้ค่ะ งานแต่ละอย่างค่าแรงต่างกัน ช่วงแรกๆ เราก็ยังเลือกงานไม่ได้ค่ะ เค้าจัดอะไรมาเราก็ทำแบบนั้น โดยเค้าจะถามเราว่า

มาส่งงานได้วันไหน เพราะแต่ละชิ้นงานมีกำหนดวันส่งตายตัวห้ามเลท

ส่วนมากจะกำหนดส่งงานวันเว้นวัน เราทำทุกอย่างเลยค่ะ ถึงจะเป็นงานกล่องใหญ่แต่น้ำหนักเบาค่ะ ถึงจะท้องก็ยกได้ไม่ลำบากค่ะ ค่าแรงของแต่ละงานจะต่างกัน ถ้ามีความซับซ้อนหลายจุด เช่น จับแยกงาน ตึงพาสติกออก ติดสติ๊กเกอร์ ใส่ซอง ปิดผนึก เลียงลงกล่อง อะไรแบบนี้ก็จะได้ค่าแรงแต่ละชิ้นเยอะขึ้นตาม

เดือนแรกเราได้ค่าแรงประมาณ3-4หมื่นเยน แต่รู้สึกว่าทำทุกวันเลยนะ มันน้อยยยยยจนต้องหางานไนโชคุที่อื่นเพิ่ม (เอาจริงของานเพิ่มจากที่เดิมก็ได้นะคะ)

ที่ที่2 ก็ใกล้ๆบ้านเหมือนกัน อยู่ไม่ห่างจากบริษัทแรกเท่าไร ที่นี่ส่วนมากจะเป็นของพรีเมียมที่แจกตามห้างหรือสวนสนุก แต่ค่าแรงต่อชิ้นบริษัทที่สองถูกมากกกก เดือนนึงได้ประมาณ 1 หมื่นค่ะ เราไปรับงานทั้ง2ที่ทุกวัน ได้รายได้ประมาณไม่เกิน 5 หมื่นต่อเดือน แต่ที่2ไม่ค่อยมีงานเท่าไรค่ะ วันไหนมีงานเข้ามาเค้าก็จะโทรมาถามก่อนว่าจะรับงานมั้ย บางเดือนค่าแรงได้น้อยมาก เลยหางานเพิ่มค่ะ

ที่ที่3 อยู่อีกเขตเลยค่ะไม่ใช่นาโกย่า อยู่โตโยอะเกะ คือ ขับรถไปเกือบ 40นาทีจากบ้านค่ะ ที่นี่ก่อนสมัครมีอบรม3ชม เออ ต้องบอกก่อนว่าทั้ง2ที่แรกไม่มีอบรม แต่ก่อนรับงานจะมีอธิบายงานให้ฟังก่อนแล้วลองให้ทำดูประมาณ10-20ชิ้น แล้วถึงให้เอางานกลับไปทำได้ แต่ที่ที่3มีอบรมก่อนแต่ยังไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงานเท่าไร แค่เหมือนอธิบายระบบการทำงาน การจ่ายตังค์เท่านั้นค่ะ ตัดสินใจสมัครก็ยังไม่ได้รับงานเลย ต้องมาวันรับต่อไป

Cr.baitoru.com

อย่างที่บอกไปตอนแรกว่าที่ที่2ไม่ค่อยมีงานเท่าไร เราก็เลยหาเพิ่ม โดยที่ที่4อยู่ใกล้บ้านที่เพิ่งย้ายมาใหม่พอดี บริษัทนี้เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นงานจะเล็กๆแล้วเอาไปใส่กับอีกชิ้นงานอื่น ค่าแรงต่อชิ้นก็จะน้อยกว่าที่ที่1,2,3พอสมควร ต่อเดือนเราจะได้ประมาณ1-2หมื่น โดยที่เราจะไปรับงานวันเว้นวัน โดยรวมรายได้ต่อเดือน ที่ไม่รวมงานล่ามก็จะได้ประมาณ4-5หมื่นเยน เดือนไหนไม่มีงานล่ามคือมันจะน้อยมากกก เราเลยหาเพิ่มอีกที่ ซึ่งเป็นที่ที่เราทำจนถึงทุกวันนี้ ทำมาเกือบ5ปีแล้วค่ะ

ที่สุดท้ายนี้เราก็หาเหมือนกับทุกที่ คือจากอินเตอร์เน็ต แล้วก็โทรสอบถาม บริษัทเป็นชิ้นรถยนต์ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นงานตรวจเช็คชิ้นงานด้วยตาเปล่า หรือมีอุปกรณ์ในการตรวจมาให้

แต่ที่นี่เราเลือกได้ว่าจะทำมากน้อยตามกำลังของเราเลย เราเริ่มทำที่นี่โดยได้รับค่าแรงเดือนละประมาณ 6 หมื่นเยน เราเลือกรับงานแค่ ที่แรกกับที่สุดท้ายเท่านั้นเพราะคุ้มกับค่าน้ำมันรถหน่อย โดยที่แรกเราเลือกงานที่ส่งอาทิตย์ละครั้ง ซึ่งเป็นงานที่ได้ค่าแรง 7 พันเยน หนึ่งเดือนก็จะประมาณ2หมื่นเยน ที่สุดท้ายก็เดือนละ6หมื่นเยน รวมประมาณ7-8หมื่นเยนต่อเดือนไม่รวมรายได้จากงานอื่น(เราทำงานหลายอย่างมาก555)

ชุฟุจัง : อยากทราบว่า งานไนโชะกุเฉลี่ยแล้วใช้เวลากี่ชั่วโมงต่อวันคะ ในกรณีของคุณเทียร์

คุณเทียร์ :ชั่วโมงในการทำงานไนโชะกุที่บ้าน อยู่ที่ประมาณ 4-5ชม.ต่อวัน งานอื่นนอกบ้าน งานเลี้ยงลูกงานบ้าน ร่างแหลกมากกกกกค่ะ พอเริ่มมีลูกคนที่ 3 เราก็ทำงานไนโชะกุที่สุดท้ายที่เดียวมาตลอดค่ะ

ก่อนโควิดยังมีงานล่ามตลอดจนถึงคลอดลูกคนที่4 น้องคลอดช่วงโควิดกำลังเข้าญี่ปุ่นพอดี งานล่ามเลยหายหมดเกลี้ยง เหลือแต่งานไนโชะกุอย่างเดี่ยวที่เป็นรายได้หลักของเราตอนนี้ (ไม่รวมเงินที่ขอจากสามีนะคะ555) โดยที่เรารับงานเพิ่มขึ้นจากวันละ 6 กล่อง เป็น10กล่อง

รายได้ต่อเดือนก็จะอยู่ที่1แสนเยนค่ะ ปล.ทุกบริษัทไนโชะกุมีรายละเอียดเงินค่าจ้าง (明細書 meisaisho) ให้ทุกที่ยกเว้นที่สุดท้ายค่ะ จะเป็นใบเสร็จรับเงินเเทน แล้วที่สุดท้ายต้องทำงาน 2 เดือนถึงจะได้เงินเดือนค่ะ

เช่น เงินเดือนของเดือน8 จะไปออกวันที่ 10 เดือน 10 ส่วนใหญ่เราจะอธิบายเกี่ยวกับได้ราย แต่ถ้าอยากรู้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมก็ถามได้นะคะ คิดว่าน่าจะพอมีประโยชน์ต่อแม่บ้านไทยในญี่ปุ่นบ้างนะคะ

อีกเรื่อง คือ ภาษาญี่ปุ่นก็จำเป็นพอสมควรนะคะ เพราะก่อนรับงานเค้าก็อธิบายข้อควรระวังต่างๆ ในแต่ละงาน ถ้าแบบไม่ได้เลย เค้าก็ไม่รับ แต่ถ้าผ่านช่วงแรกไปได้ ที่นี่ก็สบายแล้วค่ะ

ชุฟุจัง : อยากทราบค่าชิ้นงาน แต่ละประเภทงาน เอาคร่าวๆ ก็ได้ค่ะ
ถ้าแนะนำสำหรับคนที่เริ่มทำ และถ้าทำคล่องแล้วควรอัพเลเวลรับงานแบบไหนคะ
คุณเทียร์ :ปกติชิ้นงานที่เป็นพวกติดสติ๊กเกอร์ต่างที่เรารับ ตกเซ็ตละ 0.2-0.7เยน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของชิ้นงาน ส่วนที่เป็นงานQCชิ้นส่วนรถยนต์ ตกชิ้นละ0.4-0.5เยน ถ้าเป็นงานประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน ตกชิ้นละ 0.65-0.75 ที่เรารับมาส่วนมากจะเป็นกล่อง,กล่องละ1,500ชิ้น เท่ากับว่า 1,500*0.4=กล่องละ 600เยน รับมา10 กล่อง = 6,000เยน ต่อวัน
ชุฟุจัง : โหหห งานไนโชะกุก็ไม่ได้ง่ายเหมือนที่คิดนะคะเนี่ย
และรายได้ก็ดีกว่าที่คิดเช่นกัน 55 อันนี้แล้วแต่บริษัทและก็ขึ้นอยู่กับประเภทงานด้วยเนอะคะ
อ่านแล้วทำให้เข้าใจและเห็นภาพการทำงานของไนโชะกุแบบละเอียดมากขึ้นเลยค่ะ
พอดีมีคุณแม่บ้านติดต่อมาถามเกี่ยวกับการหางานไนโชะกุเยอะมากเลยค่ะ
อยากทราบว่า ถ้าคนที่ไม่ค่อยได้ภาษา และ ขับรถไม่เป็น จะมีเปอร์เซ็นต์ได้งานมากน้อยแค่ไหนคะ
หรืออาจต้องให้สามีช่วยติดต่อและไปรับส่งงานให้
คุณเทียร์ :ใช่ค่ะ ก็ต้องหาหลายๆที่นะคะ อย่างที่บอกว่าบางที่เราเลือกไม่ได้ว่าจะทำเท่าไร เค้าจะเซ็ตไว้เลย ถ้าเลือกว่าจะทำเท่าไรได้ ก็แล้วแต่เราเลยค่ะว่ามีกำลังทำได้มากน้อยขนาดไหน ส่วนตัวช่วนไหนรับมาทำเยอะ ได้มากสุดแสนหกก็มีค่ะ ตอนสถานการณ์ปกติเราทำได้เดือนประมาณแสนสองถึงแสนหก แต่พอโควิดงานล่ามไม่มีเลยเข้าฟุโยของสามีเลยต้องจำกับรายได้ให้น้อยลงด้วย ส่วนเวลาในการทำงาน เราก็ทำไปเลื่อยๆเลยนะคะ บางวันพาลูกๆเข้านอนแล้วลงมาทำงานต่อก็มีค่ะ คือเหนื่อยร่างแทบขาด เพื่อเงินตัวเดียว555
ส่วนเรื่องถ้าไม่ได้ภาษาหรือไม่มีรถ ที่ที่เราเคยทำทั้งหมดไม่รับเลยค่ะ แต่ที่อื่นไม่แน่ใจนะค่ะ เพราะตอนรับงานเค้าจะอธิบายละเอียดมาก ถ้าฟังได้นี่ก็ลำบากอยู่นะคะ รายละเอียดเยอะ ของแต่ละงานก็ต่างกันค่ะ ส่วนเรื่องให้สามีติดต่อให้ ไปรับของให้ เราไม่แน่ใจว่าได้ไหม แต่บริษัทเราห้ามคนที่ไม่ได้อบรมจับชิ้นงานค่ะ บางทีเวลามีงานNGหลุดเข้าไป เค้าจะหาสาเหตุว่าหลุดได้ยังไง
ชุฟุจัง : มีอุปสรรคความยุ่งยากเรื่องอื่นไหมคะ เช่น การจัดเก็บข้าวของ การจัดเวลาเพื่อทำงาน ถ้าพูดถึงความคุ้มค่า สุดท้ายแล้วมองงานนี้อย่างไร และ ถ้าเป็นไปได้อยากทำงานอื่นหรืออยากทำงานนี้ต่อไปคะ
ถ้าให้แนะนำสำหรับคนที่อยากทำ ก็เริ่มจากหาที่ใกล้ๆบ้านดูก่อนว่ามีมั้ย ลองทำหลายๆที่ เทียบกันดูว่าที่ไหนคุ้มค่ารถมากกว่ากัน

คุณเทียร์ :อุปสรรคของเราก็มีค่ะ คือ เด็กที่บ้านชอบมาเล่นใกล้ๆเวลาทำงาน บางทีก็แอบเอาของเล่นใส่ไปในกล่องชิ้นงาน เราถูกบริษัทว่าเหมือนกัน ตอนนี้เลยเปลี่ยนไปทำงานห้องที่ไม่มีเด็กอยู่

ส่วนวิธีการจัดเก็บ เราวางเรียงกันไว้ตรงทางเข้าส่วนทางเข้าประตูบ้าน (玄関 genkan)เลยค่ะ เต็มเอียด คือ ช่วงนี้ไปรับงานวันเว้นวันเลยรับมีครั้งละ 20กล่อง เต็มทางเข้าบ้านเลยค่ะ 555
ส่วนตัวเรามองว่างานนี้เหมาะสำหรับคนอยู่บ้าน มีลูกเล็กออกไปทำงานข้างนอกลำบาก แต่เวลาในการทำงานมันไม่แน่นอน เพราะวันๆงานแม่บ้านเยอะมากอยู่แล้ว เลี้ยงลูก ทำงานบ้าน ลูกหลับก็ทำงานต่อ มันเหมือนทำงานตลอดเวลาไม่มีวันหยุด เสาร์อาทิตย์ก็ทำ5555 มันรู้สึกว่าเหนื่อยกว่าไปทำงานนอกบ้าน แต่ถ้าถามว่าอยากไปทำงานอื่นนอกบ้านมั้ย
ถ้าอนาคตมีงานที่มั่นคงกว่าล่าม ก็อาจจะไม่ทำไนโชะกุแล้วค่ะ แต่ถ้ายังทำงานล่ามอยู่ก็คงทำไปเรื่อยๆ ดีกว่าปล่อยเวลาว่างเฉยๆ ทางนี้ลูกเยอะค่ะ เลยต้องทำงานเยอะ555

อ่านบทสัมภาษณ์จากประสบการณ์ตรงของคุณเทียร์แล้วเป็นอย่างไรกันบ้างคะ
คิดว่าทุกคนคงมองภาพงานไนโชะกุชัดขึ้นแล้วใช่ไหมคะ
แล้วมาติดตามบทสัมภาษณ์คุณแม่บ้านไทยและญี่ปุ่นต่อไปได้ทางเว็ปไซต์ shufuchan.comนี้นะคะ
                                                                                           ขอบคุณคุณเทียร์ ผู้ให้สัมภาษณ์ 
                                                                                                                 บทสัมภาษณ์โดย ชุฟุจัง

“คอร์สมั่นใจออกเสียงสำเนียงญี่ปุ่น BASIC 1”

จัดเวลาเรียน เพียงวันละ 30 นาที

ระยะเวลา 7-10 วัน !!

จุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจพื้นฐาน “เสียง” ในภาษาญี่ปุ่น

และปรับการออกเสียงพูดของตัวเองได้อย่างถูกต้องชัดเจนขึ้น

และมีความ “กล้า” ที่จะนำไปใช้พูดสื่อสารต่อไปได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

โดยไม่ต้องรอให้เรียนจบไวยากรณ์มากมาย

หรือสอบวัดระดับได้ก่อนค่อยมั่นใจ


ก่อนเข้าสู่บทเรียน

มีแบบทดสอบออกเสียงคำศัพท์ Hiragana และKatakana

จะรู้ว่าตัวเองถนัดเสียงแบบไหนและควรปรับแก้เสียงไหน

★เนื้อหา★

Day 0 Intro สุดยอดและสำคัญมาก !!

คลิปวิดิโอทำความเข้าใจก่อนเริ่มเรียน  ความยาว 33 นาที

ปรับวิธีคิด+วิธีตั้งเป้าหมายการเรียน+เข้าใจเห็นภาพแนวทางการฝึกฝนไปสู่การพูดสื่อสารได้


◉PART เรียนรู้พื้นฐานการออกเสียงสะกดคำ

เข้าใจความต่างของเสียงในภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย

Day 1 เรียน 2 คลิป + สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

วิดิโอ 1 พื้นฐานเสียงในภาษาญี่ปุ่น

ความยาวประมาณ 14 นาที

วิดิโอ 2 วิธีออกเสียงพื้นฐาน เสียงขุ่น กึ่งขุ่น

เสียงที่ไม่มีในภาษาไทย

ความยาว 33 นาที

Day 2 เรียน 1 คลิป พร้อมทำแบบฝึกออกเสียง + สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

วิดิโอ 3 เสียงควบยาว เสียงลากยาว

ความยาว 25 นาที

Day 3 เรียน 2 คลิป + สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

วิดิโอ 4 เสียง っ ทสึเล็ก

(เสียงพยัญชนะซ้อนหรือเสียงกัก)

ความยาว 12 นาที

วิดิโอ 5 เสียงตัวสะกด ん

ความยาว 16 นาที

Day 4 ทำแบบฝึกเข้าใจสะกดคำและฝึกออกเสียง


◉PART เรียนรู้การใช้โทนเสียงสำเนียงญี่ปุ่น

ในการออกเสียงคำศัพท์และประโยคสนทนาพื้นฐานในชีวิตประจำวัน

พร้อมแบบฝึกพูดด้วยวิธี Repeating

 

Day 5 คลิปฝึกโทนเสียงสูงต่ำ,สั้น-ยาวให้เห็นความต่าง

ของความหมายคำศัพท์ พร้อมประโยคตัวอย่าง

Day 6 คลิปฝึกออกเสียงพูดพึมพำกับตัวเองเป็นภาษาญี่ปุ่น

Day 7 คลิปฝึกออกเสียงพูดตามบทสนทนาถาม-ตอบสั้น

Day 8 คลิปตัวอย่างฝึกออกเสียงคำศัพท์ตามอักษรฮิระงะนะ


สิ่งที่ต้องเตรียมในการเรียน

1.พื้นฐาน อักษรひらがな(ฮิรางานะ)และ อักษรカタカナ(คาตาคานะ)

2.พลังความมุ่งมั่นและเอาจริง

3.เวลาในการเรียนและทำแบบฝึก

วันละประมาณ 30 นาที


★สิ่งที่จะได้รับหลังจากจบคอร์ส★

– เข้าใจการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น อ่านสะกดคำ ประโยคสั้น

ได้อย่างถูกต้องชัดเจนมากขึ้้น

-รู้ว่าเสียงพูดของตัวเองต้องปรับแก้การออกเสียงตรงไหน

– รู้เป้าหมายการเรียน

และมีแนวทางเทคนิคการฝึกฝนให้เหมาะสมกับตัวเอง

– มีความกล้ามั่นใจมีแรงกระตุ้นในการฝึกฝนภาษาพูดต่อไปได้มากขึ้นจากการทำแบบฝึกในคอร์ส


ราคาพิเศษช่วงปีใหม่ ลด 60%

จาก 3000 เยน พิเศษเพียง 1200 เยน

(จาก 990 บาท พิเศษเพียง 390 บาท)

สนใจสมัครได้ที่ LINE OFFICIAL ACCOUNT

UPDATE ! TOP12อันดับ ครีมกันแดดยอดนิยมของสาวญี่ปุ่น ปี2021

สวัสดีค่ะ ชุฟุจังค่ะ ทุกคนสบายดีกันไหมเอ่ย

พูดถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าในญี่ปุ่นตอนนี้ก็เหมือนว่าจะไม่ได้ดีขึ้น

ทุกวันนี้ยังต้องใส่หน้ากากและหลีกเลี่ยงไปที่คนเยอะๆ

ยิ่งช่วงนี้ที่ญี่ปุ่นเป็นช่วงฤดูร้อนด้วย จะบอกว่า การใส่หน้ากากในฤดูร้อนที่ญี่ปุ่น

เป็นอะไรที่แอบทรมาน  หายใจลำบากเลยค่ะ

ญี่ปุ่นเป็นประเทศเกาะ ทั้งลมร้อน ทั้งร้อนแดดและอากาศร้อนอบอ้าวมาก

“อากาศร้อนอบอ้าว” ในภาษาญี่ปุ่นพูดว่า 蒸し暑い(むしあつい มุชิอะซึย)

ถึงแม้ช่วงฤดูร้อนปีนี้ จะมีวันฝนตกเยอะเป็นพิเศษ

แต่สาวๆ ก็ยังคงต้องมีไอเทมนี้ติดตัวอยู่เสมอ

นั่นก็คือ ครีมกันแดด (日焼け止め ฮิยะเกะโดะเมะ)

 

ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า สาวๆญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกครีมกันแดดโดยพิจารณาจากอะไร

อ้างอิงข้อมูลจากเว็ปไซต์ customlife-media.jp ที่ได้สำรวจความคิดเห็นของสาวญี่ปุ่น

อายุระหว่าง 20-49 ปี  จำนวน 100 คน (สถิติเดือนพฤษภาคม 2021)

 

3 สิ่งสำคัญอันดับแรกที่สาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญมากที่สุดในการเลือกครีมกันแดด

 อันดับ 1  ค่า SPF และ PA สูง(36.8%)
อันดับ 2  อ่อนโยนต่อผิว(17.9%)
อันดับ 3  เหมาะกับสภาพผิวของตัวเอง(16.0%)

 

ทีนี้เรามาดูกันต่อว่าสาวญี่ปุ่นนิยมใช้ครีมกันแดดยี่ห้อไหนกันบ้าง

โดยแต่ละอันดับจะมีคะแนนการประเมินความพอใจ 4 เรื่อง  รวมคะแนนเต็ม 5 คะแนน

จุดประเมิน 1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  2.กันน้ำได้ดี   3.ล้างออกง่าย 4.ไม่เป็นคราบขาวลอย


TOP12อันดับ ครีมกันแดดยอดนิยมของสาวญี่ปุ่น ปี2021

อันดับที่  1  BIORE UV Athlizm Skin Protect Milk

ビオレ UV アスリズム スキンプロテクトミルク 日焼け止め

SPF50+  PA++++  ราคา  1,815เยน/65mL

จุดเด่น

ทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง   กันน้ำหรือเหงื่อได้ดีเยี่ยม

ใช้เป็น Make-up base ได้  ล้างออกได้ง่ายด้วยสบู่    เหมาะกับคนผิวมันและผิวแห้ง

จุดประเมิน BIORE UV Athlizm Skin Protect Milk  50+  SPF++++

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  5.0 | 2.ล้างออกง่าย  5.0 | 3.กันน้ำได้ดี 4.7 | 4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 4.8

ประเมินคะแนนความพอใจ  4.9 คะแนน


อันดับที่  2 ANESSA Perfect UV Skin Milk a

アネッサ パーフェクトUV スキンケアミルク a 日焼け止め

SPF50+  PA++++  ราคา 3,300เยน/60mL

จุดเด่น

กันน้ำหรือเหงื่อ และกันแสงยูวีได้ดีเยี่ยม

ล้างออกได้ง่ายด้วยสบู่    เหมาะกับคนผิวธรรมดาและผิวมัน

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  5.0 | 2.ล้างออกง่าย 4.5 |  3.กันน้ำได้ดี 4.9 | 4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 4.8

ประเมินคะแนนความพอใจ  4.8 คะแนน

                                                                           

ครีมกันแดดนี้ใช้ดีและฮิตมากๆ ทั้งสาวไทยที่ชอบสินค้าญี่ปุ่นและสาวญี่ปุ่น

เวลาออกไปกลางแจ้งหรือเล่นกีฬาคิดว่าตัวนี้น่าจะเหมาะค่ะ

ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปไม่ได้ออกแดดมากอาจจะเลือกใช้ตัวอื่นที่ราคาย่อมเยาว์กว่า


อันดับที่ 3  Skin Care Super Moisture Gel GOLD

スキンアクア (skin aqua) UV スーパー モイスチャージェル 最強ゴールドUV 日焼け止め 無香料 110グラム (x 1)SPF50+  PA++++   ราคา 1,210เยน/110g

จุดเด่น

เนื้อเจลเกลี่ยง่าย บางเบา ใช้เป็น Make-up base ได้

ล้างออกได้ง่ายด้วยสบู่   เหมาะกับคนผิวแพ้ง่ายและผิวมัน

ผ่านการทดสอบการแพ้แล้ว อ่อนโยนต่อผิว 

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  4.7 |  2.ล้างออกง่าย 4.3 | 3.กันน้ำได้ดี 4.8 | 4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 5.0

ประเมินคะแนนความพอใจ  4.7 คะแนน

                                                         


อันดับที่ 4 :BENEFIQUE HYDRO UV GENIUS UV&IR

資生堂ベネフィーク ハイドロUVジーニアス (UV&IR)

เนื้อครีมน้ำนม(Emulsion) SPF50+  PA++++   3,850เยน/50mL

จุดเด่น

กันน้ำและแสงยูวีได้ดี มีส่วนผสมบำรุงผิวหน้า คุณสมบัติเป็นครีมน้ำนม Emulsion ได้

ช่วยให้บำรุงผิวหน้าให้เครื่องสำอางติดดีขึ้น เหมาะกับคนผิวแพ้ง่ายและผิวแห้ง 

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  4.6 | 2.ล้างออกง่าย  4.4 | 3.กันน้ำได้ดี 4.8 | 4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 4.7

ประเมินคะแนนความพอใจ  4.6 คะแนน


อันดับที่ 5  SUNCUT Perfect UV Spray Super Water Proof

KOSE サンカット パーフェクト UVスプレー 無香料 60g
SPF
50+  PA++++   ราคา 798เยน/90g

จุดเด่น

เป็นสเปร์ยฉีดใช้ง่าย ฉีดทับกันยูวีระหว่างวันได้  กันน้ำและแสงยูวีได้ดี

มีส่วนผสมของเนื้อแป้งเนียนใส และแห้งเร็วทำให้เกิดคราบขาวได้ยาก

ล้างออกด้วยสบู่ได้ง่าย  เหมาะกับคนผิวธรรมดา

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี 4.6 | 2.ล้างออกง่าย 4.3 | 3.กันน้ำได้ดี 4.6 | 4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 5.0

ประเมินคะแนนความพอใจ  4.6 คะแนน

                                                         


อันดับที่ 6  LAROCHE-POSAY UVIDEA XL ANTHELIOS TONE UP LIGHT

ラロッシュポゼ UVイデア XL プロテクショントーンアップローズ ピンク

เนื้อครีมน้ำนม(Emulsion)  SPF50+  PA++++   ราคา 3,740เยน/30mL

คลิกที่ภาพดูรายละเอียดสินค้า

จุดเด่น

มีคุณสมบัติช่วยปกป้องผิวจากความแห้งและฝุ่นละอองมลพิษ

และช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้น มี 2 โทนสีให้เลือก (ธรรมดา ,โรส)

ใช้เป็น Make-up base ได้

ล้างออกด้วยสบู่ได้ง่าย  เหมาะกับคนผิวธรรมดาและผิวแห้ง

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  4.4  | 2.ล้างออกง่าย 4.9 |  3.กันน้ำได้ดี4.4 | 4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 4.1

ประเมินคะแนนความพอใจ  4.5 คะแนน


อันดับที่ 7  BIORE UV Aqua Rich Watery Essense

 ビオレUVアクアリッチウォータリー エッセンスタイプ
SPF50+  PA++++  ราคา 877เยน/50g

คลิกที่ภาพดูรายละเอียดสินค้า

 

จุดเด่น

เนื้อครีมบางเบามาก เกลียง่าย แม้ทาซ้ำก็รู้สึกบางเบา

แนะนำสำหรับคนผิวมัน และคนที่ไม่ชอบครีมกันแดดเนื้อหนา

ใช้เป็น Make-up base  ล้างด้วยสบู่ซึมออกง่ายเพียง 30 วินาที

เหมาะกับคนผิวมันและผิวแห้ง

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  4.6  |  2.ล้างออกง่าย 4.7  |  3.กันน้ำได้ดี 3.9  |  4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 4.5

ประเมินคะแนนความพอใจ  4.4 คะแนน

                                                               


อันดับที่ 8 ORBIS SUNSCREEN ON FACE MOIST

オルビス サンスクリーン(R)オンフェイス モイスト

เนื้อครีม SPF34 PA+++  ราคา 1,056เยน/35g

จุดเด่น

ป้องกันยูวีและเป็น Make-up base สีเนื้อโทนนูดในตัว เพิ่มโทนสีผิวและปกปิดได้   

ล้างออกด้วยสบู่ได้ง่าย  ไม่มีส่วนผสมของสารดูดซับรังสียูวี เหมาะกับคนผิวแพ้ง่ายและเป็นสิว

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  4.1  |  2.ล้างออกง่าย 4.0  |  3.กันน้ำได้ดี 4.4  |  4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 3.8

ประเมินคะแนนความพอใจ  4.1 คะแนน


อันดับที่ 9 KISS ME Mommy UV Mild Gel

マミー UVマイルドジェルN 100g

เนื้อเจล SPF33 PA+++  ราคา 990เยน/100g

จุดเด่น

อ่อนโยนต่อผิว ใช้ได้ทั้งคุณแม่และคุณลูก  

 ไม่มีส่วนผสมของสีสังเคราะห์ สารกันเสีย ปราศจากน้ำหอม

และไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

ล้างออกด้วยสบู่ได้ง่าย  เหมาะกับเด็กและคนที่ผิวแพ้ง่ายและผิวแห้ง

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  3.9  |  2.ล้างออกง่าย 4.4  |  3.กันน้ำได้ดี 4.0  |  4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 3.9

ประเมินคะแนนความพอใจ  4.1 คะแนน

ครีมกันแดดขวดนี้ ชุฟุจังเคยใช้ตอนลูกสาวคนโตยังเล็กๆ 

ตั้งแต่หกเดือนก็เริ่มทาครีมกันแดดให้ค่ะ ใช้ดีอ่อนโยนต่อผิวเด็กค่ะ

                                                                   


อันดับที่ 10 Curél  Day Barriers UV Protection Milk

キュレル UV カット デイバリア UV ローション 60ml
เนื้อครีมน้ำนม SPF50+PA+++  1,650เยน/60mL

จุดเด่น

Curél(キュレル)แบรนด์สำหรับผู้ที่ผิวแห้งแพ้ง่าย

เป็นครีมกันแดดที่ช่วยปกป้องผิวจากฝุ่นผง ละอองเกสรดอกไม้ฯลฯ

อาจมีคราบขาวลอยบ้างและล้างออกยากนิดหน่อย

ไม่ผสมสารเคมี  อ่อนโยนต่อผิว ทาป้องกันได้ตลอดวัน

 ไม่มีส่วนผสมของสารดูดซับรังสียูวี ใช้เป็น Make-up base

ล้างออกด้วยสบู่ได้ง่าย  เหมาะกับคนที่ผิวแพ้ง่ายและผิวแห้ง

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  4.6  |  2.ล้างออกง่าย 3.4  |  3.กันน้ำได้ดี 4.1  |  4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 3.3

ประเมินคะแนนความพอใจ  3.9 คะแนน

                                                                           


อันดับที่ 11 ALLIE EXTRA UV JEL

 ALLIE(アリィー) アリィー エクストラUV ジェルN 限定セット

เนื้อเจล SPF50+PA++++  ราคา 2,805เยน/90g 

จำนวนจำกัด แพ็คเกจแบบแถมฟรี UV CUT เจล 15g 

จุดเด่น

ครีมกันแดดเนื้อเจล มีคุณสมบัติให้ความชุ่มชื้นและกันน้ำได้ดี

ช่วยให้ผิวเงาดูเปล่งปลั่ง  ใช้เป็น Make-up base ได้

หากต้องการเพิ่มการป้องกันยูวี แนะนำให้ทาควบคู่กับรองพื้น

เหมาะกับคนที่ผิวธรรมดาและผิวแห้ง

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  4.0  |  2.ล้างออกง่าย 3.4  |  3.กันน้ำได้ดี 4.1  |  4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 3.7

ประเมินคะแนนความพอใจ  3.8 คะแนน

ครีมกันแดดยี่ห้อนี้เคยใช้แล้ว ดีมากๆ ค่ะ เนื้อเจลคิดว่าไม่เหมาะกับคนหน้ามันค่ะ

                                                                     


อันดับที่ 12 SKINCARE TONE UP UV ESSENSE

スキンアクア (skin aqua) 透明感アップ トーンアップ UV エッセンス 日焼け止め 

เนื้อครีม SPF50+PA++++  ราคา 1,100เยน/80g

จุดเด่น

ครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติคุมโทนสีผิวในตัว ปรับให้ผิวสว่างขึ้น

มี 3 สีให้เลือก(ลาเวนเดอร์(สีม่วง)・มิ้นท์กรีน(สีเขียว)・โรส(สีชมพู))

ใช้เป็น Make-up base ได้ เหมาะกับคนที่ผิวธรรมดา

อาจจะเป็นคราบขาวเมื่อโดนเหงื่อ แนะนำควรทาซ้ำบ่อยๆ ระหว่างวัน

1.ป้องกันแสงแดดได้ดี  3.6  |  2.ล้างออกง่าย 4.0  |  3.กันน้ำได้ดี 3.2  |  4.ไม่เป็นคราบขาวลอย 3.4

ประเมินคะแนนความพอใจ  3.6 คะแนน

                                                             

หลอดนี้เป็นครีมกันแดดที่ชุฟุจังชอบเพราะช่วยปรับโทนผิวให้สว่าง ใช้ตอนก่อนทารองพื้น

ซื้อซ้ำมาหลอดที่ 3 แล้วค่ะ  ราคาที่ขายใน Drugstore จะประมาณ 700 กว่าเยนขึ้นอยู่กับแต่ละร้าน


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เจอครีมกันแดดยี่ห้อที่โดนใจบ้างหรือเปล่าเอ่ย

                 ถ้ามีตัวไหนใช้ดีก็สามารถแวะมา comment แนะนำเพิ่มเติมกันได้นะคะ         

  แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะคะ

 

                                                                             เรียบเรียงโดย ชุฟุจัง

                                                                                        ที่มา customlife-media.jp

เด็กประถมญี่ปุ่น ตอน หมวกสำหรับใส่ไปโรงเรียน

日本の小学生 通学帽編

Nihon no shougakusei  tsuugakubouhen


 

ทำไมหมวกสำหรับใส่ไปโรงเรียนต้องเป็นสีเหลืองล่ะ??

<通学帽はなぜ黄色なの?>

<Tsuugakubou wa naze kiiro nano?>

 

 

ทุกคนรู้จัก “ซือกะกุโบ” ไหมนี่คือ ”ซือกะกุโบ”  

“通学帽”って何か知っていますか?こちらが通学帽です。

“Tsuugakubou” tte nanika shitte imasuka? Kochira ga tsuugakubou desu

 

มีสองแบบโดยแยกชายหญิง คือ แบบของเด็กผู้หญิง(ข้างขวา) และแบบของเด็กผู้ชาย(ข้างซ้าย)

性別ごとに、男の子用と女の子用の2種類あります。

Seibetsu goto ni otokonoko you to onnanoko you no nishurui arimasu

 

แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละภาคด้วย

แต่นักเรียนประถมญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะสวมหมวกสีเหลืองแบบนี้ค่ะ

地域によって違いはありますが、

ほとんどの日本の小学生はこの黄色い通学帽をかぶって登下校します。

Chiiki ni yotte chigai wa arimasuga

hotondo no nihon no shougakusei wa kono kiiroi boushi wo kabutte tougekou shimasu

 

พอเข้าโรงเรียนประถม นักเรียนจะได้รับหมวกแบบนี้

小学校に入ると、この帽子をもらいます。

Shougakkou ni hairuto kono boushi wo moraimasu

 

私も小学生の頃、卒業するまで、

女の子用の通学帽をかぶっていました。

ตอนที่ฉันเป็นนักเรียนประถม

ในตอนนั้นก็สวมหมวกเฉพาะเด็กผู้หญิงแบบนี้จนเรียนจบชั้นประถม

Watashi mo shougakusei jidai niwa sotsugyou suru made

onnanoko you no tsuugakubou wo kabutte imashita

 

สมัยนี้ที่โรงเรียนประถมของลูกฉัน นักเรียนชั้นป.1 พวกเขาต้องใส่หมวกสีเหลืองตามหน้าที่ที่กำหนด

現在、私の子供の小学校は、1年生は必ず黄色の通学帽をかぶることが義務付けられていますが、

Genzai watashi no kodomo no shougakkou wa ichinensei wa kanarazu kiiro no tsuugakubou wo kaburu kotoga gimu duke rarete imasu ga

 

 

ส่วนนักเรียนป.2 ถึง ป.6 พวกเขาใส่หมวกสีอะไรก็ได้ แล้วแต่ความชื่นชอบของแต่ละคน

2年生~6年生は、どんな色の帽子をかぶってもよく、

それぞれの好みの帽子をかぶります。

2 Nensei kara 6 nensei wa donna iro no boushi wo kabuttemo yoku

sorezore no konomi no boushi wo kaburimasu

 

แต่เดี๋ยวนี้บางโรงเรียนจะมีหมวกแค่แบบเดียวเท่านั้น

เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างเพศ

しかし最近では性別の差をなくすということで、

1種類だけの学校もあります。

Shikashi saikin dewa seibetsu no sa wo nakusu toiukoto de

isshurui dakeno gakkou mo arimasu

 

ส่วนโรงเรียนประถมของลูกฉัน

เมื่อ 3 ปีก่อนเปลี่ยนมาเป็นใช้หมวกแบบเดียว

私の子供の学校は、

3年前に一種類のみに変わりました。

Watashi no kodomo no gakkou wa

sannenmae ni isshurui nomi ni kawari mashita

 

ว่าแต่ว่าทำไมถึงเป็นหมวกสีเหลือง

ところでなぜ、黄色の帽子なのでしょうか?

Tokorode naze kiiro no boushi nanode shouka

ไฟเหลืองมีความหมายว่าอะไรคะ

黄信号の意味はなんですか?

Ki shingou no imi wa nandesuka

 

 

ก็คือ ”ความระมัดระวัง” ใช่ไหมคะ

“注意” ですね。

“Chuui” desune

สีเหลืองเป็นสีที่มองเห็นได้ชัด

黄色は、認識しやすい色です。

Kiiro wa ninshiki shiyasui iro desu

 

 

 

เพราะฉะนั้นมันถูกใช้บ่อยต่อสิ่งของที่จำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวัง

だから、注意を促す必要があるものによく使われます。

Dakara chuui wo unagasu hituyou ga aru mono ni yoku tsukawaremasu

 

ดังนั้น หมวกสำหรับใส่ไปโรงเรียนเป็นสีเหลืองก็เพื่อความปลอดภัยนั่นเอง

通学帽が黄色いのは安全のためですね。

Tsuugakubou ga kiiroinowa anzen no tame desune

 

แล้วสาเหตุที่ทำหมวกสำหรับใส่ไปโรงเรียนขึ้น

ก็เพราะเมื่อปีคศ1961 ในตอนนั้นมีอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

そして、通学帽が作られた理由ですが、

1961年当時、交通事故が急増していました。

Soshite tsuugakubou ga tsukurareta riyuu desuga

1961 nen touji koutsuujiko ga kyuuzou shite imashita

 

เพื่อป้องกันเรื่องนี้หมวกสำหรับใส่ไปโรงเรียนจึงถูกจัดทำขึ้น

และแจกให้นักเรียนใหม่ประถม 1

それを防ぐために、通学帽が作られ、

新一年生に配られるようになりました。

Sore wo fusegu tameni tsuugakubou ga tsukurare

shinichinensei ni kubarareru youni narimashita

 

ส่วนประเทศหรือภูมิภาคของทุกคนเป็นอย่างไรคะ

มีหมวกนักเรียนไหม

ถ้ามี  สีอะไรคะ

みなさんの国や地域はどうですか? 

通学帽はありますか 

もしあるなら何色ですか?

Minasan no kuni ya chiiki wa dou desuka

tsuugakubou wa arimasuka moshi

arunara naniiro desuka

 

นอกจากนี้สีเหลืองยังเป็นสีแห่งความสุขด้วย 

また、黄色は幸福のイメージの色です。

Mata kiiro wa koufuku no ime-ji no iro desu

ฉันแนะนำว่าคุณน่าจะลองหาอะไรสักอย่างที่เป็นสีเหลืองเอามาติดตัวไว้ดูนะคะ

あなたも、身につけるものに黄色を取り入れてみてはいかがでしょうか。

Anatamo minitsukeru mono ni kiiro wo toriiretewa ikaga deshouka


 

ผู้เขียนเรื่องนี้

ฉันชื่อ มายูมิ  ชื่อไทย “มะนาว” เป็นคนญี่ปุ่น อยู่ที่จังหวัดไอจิ

เคยอยู่ที่กรุงเทพฯ 2 ปีครึ่ง เพราะสามีไปทำงานที่กรุงเทพฯ ตอนที่ฉันอยู่กรุงเทพฯ

ได้สัมผัสความมีน้ำใจของคนไทย ทำให้รักคนไทยและเมืองไทย

ตอนนี้เป็นแม่บ้านและทำงานเป็นครูสอนภาษาไทย

ฉันอยากจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนไทย

งานอดิเรก คือ การท่องเที่ยว เรียนภาษาไทย

ดูแลลูก ดูละครญี่ปุ่น ดูหนัง ไปร้านกาแฟน่ารักๆ เป็นต้น

 

 

                                                                                                                   เรื่องโดย มะนาว

 

 

ภาพอ้างอิง https://www.photo-ac.com

ข้อมูลอ้างอิง

ヘッドライト早期点灯研究所 https://www.omoiyari-light.com/LAB/RESEARCH/000778.html

色カラ― https://iro-color.com/episode/about-color/yellow.html

 

การไปโรงเรียนของเด็กประถมญี่ปุ่น

บทความสองภาษาไทย ー ญี่ปุ่น

เรื่องโดย มะนาว


「通学団」って、聞いたことある?>

<「Tsugakudan」 tte kiitakoto aru?>

เคยได้ยินคำว่า “ซือกะกุดัน” ไหมคะ

ในโรงเรียนประถมของญี่ปุ่นนั้น

ส่วนใหญ่จะมีกลุ่มนักเรียนที่ไปโรงเรียนด้วยกัน

(เรียกว่า “ ซือกะกุดัน”)

日本の小学校では、多くの小学校に通学団があります。

Nihon no syougakkou dewa ooku no syougakkou ni tsuugakudan ga arimasu

 

ซือกะกุดันจะแบ่งตามเขตการศึกษา

โดยแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ อีกหลายกลุ่ม

เรียกว่า“ซือกะกุฮัน” ค่ะ

通学団は学区ごとに分かれており、

学区を更にいくつかの小さいグループに分けたものを通学班と言います。

Tsuugakudan wa gakku goto ni wakareteori

gakku wo sarani ikutsuka no chiisai guruupu ni waketamono wo tsuugakuhan to iimasu

通学団名 つうがくだんめい ชื่อกลุ่ม
集合時間 しゅうごうじかん เวลานัดพบ
出発時間 しゅっぱつじかん เวลาออกเดินทาง

 

 

ส่วนท้องถิ่นที่ฉันอยู่ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มเล็กนั้น

เด็กๆไปโรงเรียนกันเป็นกลุ่ม “ซือกะกุฮัน”

私の地域もその一つで、

子供たちは通学班で登校をします。

Watashi no chiiki mo sonohitotsu de

kodomotachi wa tsuugakuhan de toukou wo shimasu

 

“ซือกะกุฮัน”ถูกแบ่งโดยกลุ่มอาจารย์ 

อย่างเช่น จากบ้านนี้ถึงบ้านนั้นเป็นกลุ่มที่ จากบ้านนั้นถึงบ้านโน้นเป็นกลุ่มที่ 2 เป็นต้น

通学班は先生たちによっていくつかの班に分けられます。

例えば、ここからそこまでの家は1班、

そこからあそこまでの家は2班 というようにです。

Tsuugakuhan wa senseitachi niyotte ikutsuka no han ni wakeraremasu

Tatoeba kokokara sokomade no ie wa ippan,

sokokara asokomade no iewa nihan to iuyouni desu

 

 

นักเรียนประถมในกลุ่มที่ถูกแบ่ง

ตั้งแต่ระดับตั้งแต่ชั้นประถม 1 ถึงชั้นประถม 6

จะไปโรงเรียนด้วยกัน

区分けされた班の小学生は、

1年生~6年生までみんな一緒に通います。

Kuwakesaretahan no syougakusei wa,

ichinensei kara rokunensei made minna issyoni kayoimasu

 

ช่วงฤดูใบไม้ผลิ นักเรียนใหม่ประถม 1 จะเข้าโรงเรียน

春の時期は、新一年生が入学します。

Haru no jiki wa shinichinensei ga nyuugakushimasu

 

เมื่อถึงช่วงเวลานั้น

นักเรียนชั้นสูงในกลุ่ม “ซือกะกุฮัน”

ที่ได้รับการแต่งตั้งมีหน้าที่ดูแลรุ่นน้อง

จะต้องเดินไปรับนักเรียนชั้นป 1 ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันถึงที่บ้าน

และพารุ่นน้องไปจุดนัดพบรวมตัวกัน 

その時期になると、

係に任命された通学班の高学年の子は

毎朝、同じ班の1年生の子の家へ迎えに行き、

集合場所まで連れて行きます。

Sonojiki ni naruto

kakari ni ninmeisareta tuugakudan no kougakunen no ko wa

maiasa onajihan no ichinensei no kono ie e mukae ni iki,

syuugoubasyo made tsurete ikimasu

ภาพจาก https://webun.jp/item/7661699

 

นี่เป็นหน้าที่ของนักเรียนชั้นสูง

これは高学年の子の役割です。

Kore wa kougakunen no ko no yakuwaridesu

 

เรียกว่า โอเซวากะกะริ”

(คนที่ดูแลนักเรียนรุ่นน้อง)ค่ะ

これを「お世話係」と呼びます。

Kore wo 「osewagakari」 to yobimasu

 

หน้าที่นี้ต้องทำต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน จนกว่านักเรียนชั้นป 1 จะเคยชินกับกลุ่มนี้

慣れるまでの1週間は、この役割は続きます。

Narerumade no isshuukan wa konoyakuwari wa tsuzukimasu

 

ถ้ามีนักเรียนชั้นป 1 จำนวน 3 คนจำเป็นจะต้องมีคนที่ดูแลจำนวน 3 คนค่ะ  

もし新1年生が3人いたら、お世話係は3人必要です。

Moshi shinichinensei ga sannin itara

osewagakari wa sannin hitsuyou desu

 

 

ตัวอย่างเช่น คนที่ดูแลเฉพาะน้องริกุโตะ  ประมาณนี้

りくとくんのお世話係、というようにです。

Rikuto kun no osewagakari toiu youni desu

 

สำหรับการเลือกนักเรียนที่ดูแลกลุ่มจะขึ้นอยู่กับทางโรงเรียน

お世話係をする子をどうやって選ぶかは、学校によります。

Osewagakari wo suruko wo douyatte erabuka wa gakkou ni yorimasu

 

ส่วนเขดการศึกษาที่เราอยู่ หากมีพี่น้องแท้ๆอยู่ด้วย พี่ก็จะดูแลน้อง

แต่ถ้าไม่มีพี่ชายหรือพี่สาวในกลุ่มนี้ นักเรียนชั้นสูงที่ไม่เคยทำจะเป็นคนที่ดูแลค่ะ

私の学区の場合は、もし兄弟がいればその兄弟がお世話係に(なり)、

いなければ、その班の中でまだお世話係をやったことがない高学年の子がお世話係をします。

Watashi no gakku no baai wa moshikyoudai ga ireba sonokyoudai ga osewagakarini (nari) inakereba sonohan no naka de mada osewagakari wo yattakoto ga nai kougakunen no ko ga osewagakari wo shimasu

 

ส่วนนักเรียนคนอื่นๆ จะมารวมกันที่จุดนัดรวมตัวภายในเวลานัด

他のみんなは集合時間までに集合場所に集まります。

Hoka no minna wa syuugoujikan madeni syuugoujikan ni atsumarimasu

ถ้าทุกคนมากันครบพร้อมแล้วก็จะเดินไปโรงเรียนโดยเรียง 2 แถว

みんなが揃ったら、2列に並んで登校をします。

Minna ga sorottara niretsu ni narande toukou wo shimasu


เราคิดเองว่า นี่เป็นวัฒนธรรมที่ดีมาก

โดยมีเหตุผล 5 ข้อ ดังนี้

これはとてもいい習慣だと私は思います。

その理由は5つあります。

Kore wa totemo ii syuukann dato watashi wa omoimasu

sono riyuu wa itsutsu arimasu.

 

 

1.นักเรียนชั้นสูง พวกเขาจะได้เรียนรู้ว่า

การดูแลน้องๆ รู้สึกยังไง ต้องทำอะไรบ้าง

高学年は小さい子の面倒を見るということを、

この通学班を通じて学ぶことができる

Kougakunen wa chiisaiko no mendou wo miru toiu koto wo

kono tsuugakuhan wo tsuujite manabukoto ga dekiru

 

2.สร้างสัมพันธ์กันและกันได้ในชุมชมเล็กๆ

ไม่ว่าระดับเดียวกันหรือระดับต่างกันก็ช่วยกันได้ง่ายขึ้น

通学団の中で、学年の違う近所の子たちとも、

お互いの関係を築くことができ、助け合いやすくなる

tsuugakudan no naka de. gakunen no chigau kinjo no kotachi tomo

otagai no kankei wo kizuku koto ga deki , tasukeai yasukunaru

 

 

3เนื่องจากไม่ได้เดินไปโรงเรียนคนเดียวทำให้ยากต่อการเป็นเป้าหมายของคนแปลกหน้า

一人で学校に行かないため、不審者に狙われにくい。

Hitori de gakkou ni ikanai tame fushinsya ni nerawarenikui

 

 

4.เด็กสามารถเรียนรู้กติกาในการใช้ชีวิตร่วมกันเป็นกลุ่มและความสำคัญในการรักษาเวลานัด

 集団生活のルールや、

時間を守ることの大切さを学べる

 Syuudanseikatsu no ruuru ya ,

jikan wo mamorukoto no taisetusa wo manaberu

 

 

5.พ่อแม่ไม่ต้องไปส่งลูก

親が子供を送っていかなくて済む

Oya ga kodomo wo okutteikanakute sumu


วินัยเด็กญี่ปุ่นเริ่มจากจุดนี้…

ภาพลูกสาวกำลังออกไปโรงเรียน

ถ้าคุณมาถึงสาย คนอื่นๆ ในกลุ่มก็จะรอนาน อาจจะไปโรงเรียนช้า

もし集合時間に遅れたら、通学班のみんなを待たせることになります。

Moshi syuugoujikan ni okuretara tsuugakuhan no minna wo mataserukoto ni narimasu

เราคนญี่ปุ่นถูกอบรมสั่งสอนมาตั้งแต่เด็กๆ ว่า ทำตัวไม่ให้รบกวนคนอื่นและรักษาเวลาเป๊ะๆ 

เราถูกอบรมสั่งสอนจากผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเรื่องการเดินไปโรงเรียนเป็นกลุ่ม

ที่เรียกว่า “ซือกะกุฮัน 通学班” หรือในสถานการณ์ต่างๆ ด้วย

人に迷惑をかけないように行動するということ、

時間をきっちり守るということを私たちは、

通学班やいろんな場面で大人から教えられてきました。

Hito ni meiwaku wo kakenai youni koudousuru toiukoto

jikan wo kicchiri mamoru toiu koto wo watashitachi wa

tsuugakuhan ya ironnabamend e otona kara oshierarete kimashita

 

 

คนต่างชาติพูดถึงคนญี่ปุ่นว่า เวลาต้องเป๊ะๆ ทำทุกอย่างก็ต้องเป๊ะๆ

นิสัยแบบนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชีวิตตั้งแต่เด็กๆ อย่างนี้ 

日本人が時間にきっちりしている、全てにおいて完璧でなければならい人 と言われるのは、

このように小さい時からの影響によるものでしょう。

Nihonjin ga jikan ni kicchirishiteiru subete nioite kanpeki denakerebanaranai hito toiwarerunowa konoyouni chiisaitoki kara no eikyou niyoru mono desyou

 

คงเป็นเพราะว่าเด็กๆ ถูกปลูกฝังมาจนชินเป็นเรื่องธรรมดาในการใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม

集団生活の中で当たり前のこととして

植え付けられているからなのでしょうね。

Shuudanseikatsu no naka de atarimae no koto toshite

uetsukerareteiru kara nanodesyoune

 


ผู้เขียนเรื่องนี้

ฉันชื่อ มายูมิ  ชื่อไทย “มะนาว” เป็นคนญี่ปุ่น อยู่ที่จังหวัดไอจิ

เคยอยู่ที่กรุงเทพฯ 2 ปีครึ่ง เพราะสามีไปทำงานที่กรุงเทพฯ ตอนที่ฉันอยู่กรุงเทพฯ

ได้สัมผัสความมีน้ำใจของคนไทย ทำให้รักคนไทยและเมืองไทย

ตอนนี้เป็นแม่บ้านและทำงานเป็นครูสอนภาษาไทย

ฉันอยากจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนไทย

งานอดิเรก คือ การท่องเที่ยว เรียนภาษาไทย

ดูแลลูก ดูละครญี่ปุ่น ดูหนัง ไปร้านกาแฟน่ารักๆ เป็นต้น

 

 เรื่องโดย มายูมิ (มะนาว)

เรียบเรียงโดย ชุฟุจัง

สัมมนาออนไลน์ "Mindset สู่เป้าหมายพูดญี่ปุ่นคล่อง"

สัมมนาออนไลน์ “Mindset สู่เป้าหมายพูดญี่ปุ่นคล่อง” สัมมนานี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนควรได้เรียนรู้ จัดขึ้นเพื่อช่วยให้คนเรียนภาษาญี่ปุ่น มีพลังแรงกระตุ้นและมั่นใจในศักยภาพและความสามารถของตัวเอง